วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

ตัวอย่าง..การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนด้านการพัฒนา 1


รั้วไฟฟ้าที่หนองเป็ด กับการมีส่วนร่วมของชุมชน

......ปัญหาเรื่องคนกับช้างป่ายังคงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง และส่อเค้าความรุนแรงเกิดขึ้นให้เห็นขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้าที่เราต่างพบเห็นเรื่องราวผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆ ในทำนองที่ว่าช้างป่าเข้าทำลายคน หรือการแย่งทรัพยากรทางอาหาร ที่ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี คืออีกพื้นที่ที่กำลังมีข้อพิพาทระหว่างคนกับช้างป่าเกิดขึ้นด้วยความที่ชุมชนในตำบลนี้อยู่ห่างจากเพียงถนนสองเลนกั้นขวางพื้นที่ชุมชนและไร่สวนของชาวบ้านกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ ซึ่งเป็นบ้านหลังใหญ่อีกแห่งของช้างป่าในพื้นที่ผืนป่าตะวันตกทั้งหมด
วันนี้ในการทำงานของเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ เพื่อการป้องกันความรุนแรงที่อาจขึ้นจากช้างป่า คือการสร้าง “รั้วไฟฟ้า” กั้นขวางระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากับชุมชนไว้ เพื่อแยกคนกับช้างออกจากกัน....
.......แต่ในความหมายของการมีอยู่ของรั้วไฟฟ้านั้น วันนี้แม้จะเป็นคำตอบที่สร้างความพอใจแก่ฝ่ายชุมชน แต่ในทางปฏิบัติเรื่องราวไม่คาดฝันมักเกิดขึ้นเสมอ และการทำความรู้จักกับรั้วก็ถือเป็นภารกิจหนึ่งที่ชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วยกัน
.......นริศ บ้านเนิน หัวหน้าภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียรพื้นที่สุพรรณ กาญจนบุรี เล่าย้อนถึงความหลังที่เพิ่งผ่านมาไม่นานระหว่างชุมชนในตำบลหนองเป็ดกับช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระว่า เดิมทีที่นี้ไม่เคยมีปัญหาระหว่างคนกับช้างป่า แต่สถานการณ์เริ่มมาแย่ลงในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงในปีนี้ ที่มีไร่สวนของชาวบ้านเริ่มมีความเสียหายมาก รวมถึงการพุ่งเข้าทำร้ายคนของช้างป่า ซึ่งเราเองก็ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมช้างป่าถึงเข้าทำร้ายคน แต่ในส่วนของการบุกเข้าไป “ขโมย” ผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนนั้น มันชัดเจนตรงที่ว่าพืชบางอย่าง อาทิ ข้าวโพด หรือในสวนที่มีต้นมะม่วงนั้น เป็นอาหารโปรดของช้างป่า เมื่อเขาได้กลิ่น เขาเลยตามกลิ่นเข้ามากิน

“ก่อนหน้านี้ ก็เคยเจอช้างบ้างนะ แต่ไม่ค่อยบ่อย อาศัยทำเสียงดังไล่ให้เข้ามา หรือบางทีก็เรียกเจ้าหน้าที่มีความชำนาญมาช่วยไล่ แต่ระยะหลังมาบ่อย และบางตัวดื้อ ไล่ไม่ไป” ชาวบ้านคนหนึ่งสะท้อนปัญหา และสรุปถึงความผวาของคนว่า “เมื่อก่อนตอนผมเด็กๆ เข้าไปเดินเล่นในเขตฯ (รักษาพันธุ์สัตว์ป่า) บ่อยๆ แต่ตอนนี้โตแล้ว ไม่กล้าที่จะไปเดินเล่นเหมือนตอนเด็กๆ แล้ว”

ทางออกที่ชุมชนมองเห็น คือการทำรั้วไฟฟ้า เพื่อห้องกันไม่ให้ช้างป่าก้าวผ่านเส้นเขตแดนของเขตรักษาพันธุ์ออกมาแน่นอน ช้างป่า ไม่รู้จักเส้นสมมติของมนุษย์ จึงจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือในการแบ่งอาณาเขตอย่างชัดเจนให้เกิดขึ้นเดิมทีการทำรั้ว ทำโดยชาวบ้าน โดยของบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลมาจัดทำ เป็นรั้วแบบที่ใช้ช๊อตวัว ซึ่งกำลังไฟต่ำและไม่ค่อยมีความแข็งแรงเท่าไหร่และที่สำคัญกว่านั้น ช้างป่า เป็นสัตว์ฉลาด
.......ครั้งแรกเมื่อเขาโดนช็อตก็อาจจะไม่เดินผ่าน แต่สัญชาติญาณการเรียนรู้ทำให้ไม่นานก็สามารถเดินข้ามรั้วไฟฟ้าออกมาขโมยพืชไร่ของชาวบ้านได้อย่างง่ายดาย เป็นอันว่ารั้วไฟฟ้าที่เคยทำนั้นใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป
......นริศ เล่าต่อว่า กระทั้งต้นปีที่ผ่านมา ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระได้เป็นคนลงมือทำรั้วไฟฟ้าขึ้นมาเอง ผ่านโครงการลดภัยอันตรายจากช้าง ทำให้ชาวบ้านเบาใจลง แต่ในความเป็นจริง ภารกิจตรงนี้ยังไม่เสร็จ เลยทำให้เกิดกระบวนการดึงเอาชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมกับการมีอยู่ของรั้วไฟฟ้านี้“การมีส่วนร่วมตรงนี้ คือการชักชวนชาวบ้านให้ออกมาทำความ ‘รู้จัก’ รั้วไฟฟ้า” 
รู้จัก ในที่นี้ นริศ บอกว่า คือการรู้จักการใช้งานและการดูแลรักษา

“คือรั้วไฟฟ้านี้ไม่ได้สร้างเสร็จแล้วเสร็จเลย มันต้องมีการดูแล บำรุงรักษา อย่างเช่น จะให้มีอะไรมาพาดอยู่บนรั้วไม่ได้ เพราะกระแสไฟฟ้ามันจะไม่ไหลไปตามรั้วต่อ หรืออย่างมีกิ่งไม้มาพาด กระแสไฟฟ้าก็ไหลไปตามกิ่งไม้ไปแทน ทำให้รั้วไฟฟ้าใช้ไม่ได้ผล”

ที่นริศเล่า เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการทำความรู้จักและดูแล อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องทำมาคู่กัน คือการซ่อมแซมรั้วที่เกิดจากการที่ช้างป่าพังเพื่อพยายามออกไปข้างนอกป่า ระหว่างเส้นทางรั้วไฟฟ้า ระยะทาง 17 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในการฝังเสาแต่ละต้น บางต้นมีฐานปูนปักไว้อย่างเรียบร้อย แต่เสาของรั้วไฟฟ้าบางต้นมีฐานที่ก่อขึ้นใหม่อย่างหยาบๆ เอาหินเอาดินมาผสมทำฐานใหม่ เพราะถูกช้างป่าทำลาย
......นริศชี้แจงว่า จากที่เห็นก็สามารถบอกได้ชัดแล้วว่า รั้วไฟฟ้าไม่ใช่ทางออกของปัญหาที่จบภายในทีเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของชาวบ้านในการร่วมกันสอดส่องดูแล จะอาศัยเพียงแต่กำลังของเจ้าหน้าที่รับเพียงอย่างเดียวอาจไม่ทันการเพราะทางเจ้าหน้าที่ก็มีภารกิจอื่นเช่นเดียวกัน และนี่ก็คืองานหนึ่งของมูลนิธิสืบนาคะเสถียรที่จะต้องเข้ามาทำขบวนการ ตอนนี้งานดูแลบำรุงรักษารั้วไฟฟ้าทำไปแล้ว 4 ครั้ง เริ่มมาตั้งแต่ช่วงเดือนที่แล้ว

“ตอนแรก เราตั้งใจว่าจะเข้ามาร่วมกิจกรรมกันเดือนละครั้ง แต่ชาวบ้านเองต่างก็ภาระหน้าที่ในการทำมาหากินเช่นกัน แต่ผลคือบางทีอาจไม่ทันการ รั้วไฟฟ้าอาจถูกทำลายไปจนเละเสียก่อน งานตรงนี้คงต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์”

.......ในการพูดคุยระหว่างเจ้าหน้าที่สืบนาคะเสถียร กับชาวบ้าน พวกเขาคุยกันว่า วันต่อไปจะมาทำงานร่วมกันอย่างนี้เมื่อไหร่อีก ชาวบ้านร่วมออกแรก มูลนิธิฯ ร่วมช่วยสนับสนุนอุปกรณ์ และลงมือทำด้วยกัน แต่ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด กิจกรรมครั้งก่อนหน้านี้ ชาวบ้านร่วมกันถางหญ้าบริเวณรอบรั้วออกไปจนหมด เบื้องต้นคิดว่าคงใช้เวลาอีกสักระยะกว่าจะมีต้นใหม่งอกขึ้นมา แต่ที่ไหนฝนที่เทลงมานำเอาความเขียวชอุ่มกลับมาก่อนวันอันสมควร ทำงานต้องมาลงถือถางกันใหม่อีกรอบ




“งานนี้ คงแล้วแต่สถานการณ์” นริศชี้แจงกับชาวบ้าน ความเห็นจากคนฟังบอกว่า อาจต้องมีชุดเฝ้าระวัง ออกไปลาดตระเวนดู พลัดเวรกันไป หรือหางบมาจ้างเป็นงานดูแล ยังไม่มีข้อสรุปอย่างชัดเจนว่าอนาคตจะดำเนินแนวทางอย่างไร แต่ประเด็นหนึ่งที่ตกลงร่วมกัน คือ การร่วมมือกันดูแล ป้องปรามให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เพราะไม่ว่าจะคนหรือช้าง ต่างก็ต้องการความเป็นอยู่ที่ดีเช่นเดียวกันและอาจจะอยู่ร่วมกันได้ หากเราเปลี่ยนความชังเป็นความเข้าใจ


ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก...มูลนิธิสืบนาคะเสถียร



" แล้วคนในชุมชนของคุณละค่ะ....มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านใดบ้าง "

"ร่วมแสดงความคิดเห็นได้นะค่่......ขอบพระคุณค่ะ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น