วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

ตัวอย่าง..การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนด้านการพัฒนา 1


รั้วไฟฟ้าที่หนองเป็ด กับการมีส่วนร่วมของชุมชน

......ปัญหาเรื่องคนกับช้างป่ายังคงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง และส่อเค้าความรุนแรงเกิดขึ้นให้เห็นขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้าที่เราต่างพบเห็นเรื่องราวผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆ ในทำนองที่ว่าช้างป่าเข้าทำลายคน หรือการแย่งทรัพยากรทางอาหาร ที่ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี คืออีกพื้นที่ที่กำลังมีข้อพิพาทระหว่างคนกับช้างป่าเกิดขึ้นด้วยความที่ชุมชนในตำบลนี้อยู่ห่างจากเพียงถนนสองเลนกั้นขวางพื้นที่ชุมชนและไร่สวนของชาวบ้านกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ ซึ่งเป็นบ้านหลังใหญ่อีกแห่งของช้างป่าในพื้นที่ผืนป่าตะวันตกทั้งหมด
วันนี้ในการทำงานของเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ เพื่อการป้องกันความรุนแรงที่อาจขึ้นจากช้างป่า คือการสร้าง “รั้วไฟฟ้า” กั้นขวางระหว่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากับชุมชนไว้ เพื่อแยกคนกับช้างออกจากกัน....
.......แต่ในความหมายของการมีอยู่ของรั้วไฟฟ้านั้น วันนี้แม้จะเป็นคำตอบที่สร้างความพอใจแก่ฝ่ายชุมชน แต่ในทางปฏิบัติเรื่องราวไม่คาดฝันมักเกิดขึ้นเสมอ และการทำความรู้จักกับรั้วก็ถือเป็นภารกิจหนึ่งที่ชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วยกัน
.......นริศ บ้านเนิน หัวหน้าภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียรพื้นที่สุพรรณ กาญจนบุรี เล่าย้อนถึงความหลังที่เพิ่งผ่านมาไม่นานระหว่างชุมชนในตำบลหนองเป็ดกับช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระว่า เดิมทีที่นี้ไม่เคยมีปัญหาระหว่างคนกับช้างป่า แต่สถานการณ์เริ่มมาแย่ลงในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงในปีนี้ ที่มีไร่สวนของชาวบ้านเริ่มมีความเสียหายมาก รวมถึงการพุ่งเข้าทำร้ายคนของช้างป่า ซึ่งเราเองก็ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมช้างป่าถึงเข้าทำร้ายคน แต่ในส่วนของการบุกเข้าไป “ขโมย” ผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนนั้น มันชัดเจนตรงที่ว่าพืชบางอย่าง อาทิ ข้าวโพด หรือในสวนที่มีต้นมะม่วงนั้น เป็นอาหารโปรดของช้างป่า เมื่อเขาได้กลิ่น เขาเลยตามกลิ่นเข้ามากิน

“ก่อนหน้านี้ ก็เคยเจอช้างบ้างนะ แต่ไม่ค่อยบ่อย อาศัยทำเสียงดังไล่ให้เข้ามา หรือบางทีก็เรียกเจ้าหน้าที่มีความชำนาญมาช่วยไล่ แต่ระยะหลังมาบ่อย และบางตัวดื้อ ไล่ไม่ไป” ชาวบ้านคนหนึ่งสะท้อนปัญหา และสรุปถึงความผวาของคนว่า “เมื่อก่อนตอนผมเด็กๆ เข้าไปเดินเล่นในเขตฯ (รักษาพันธุ์สัตว์ป่า) บ่อยๆ แต่ตอนนี้โตแล้ว ไม่กล้าที่จะไปเดินเล่นเหมือนตอนเด็กๆ แล้ว”

ทางออกที่ชุมชนมองเห็น คือการทำรั้วไฟฟ้า เพื่อห้องกันไม่ให้ช้างป่าก้าวผ่านเส้นเขตแดนของเขตรักษาพันธุ์ออกมาแน่นอน ช้างป่า ไม่รู้จักเส้นสมมติของมนุษย์ จึงจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือในการแบ่งอาณาเขตอย่างชัดเจนให้เกิดขึ้นเดิมทีการทำรั้ว ทำโดยชาวบ้าน โดยของบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลมาจัดทำ เป็นรั้วแบบที่ใช้ช๊อตวัว ซึ่งกำลังไฟต่ำและไม่ค่อยมีความแข็งแรงเท่าไหร่และที่สำคัญกว่านั้น ช้างป่า เป็นสัตว์ฉลาด
.......ครั้งแรกเมื่อเขาโดนช็อตก็อาจจะไม่เดินผ่าน แต่สัญชาติญาณการเรียนรู้ทำให้ไม่นานก็สามารถเดินข้ามรั้วไฟฟ้าออกมาขโมยพืชไร่ของชาวบ้านได้อย่างง่ายดาย เป็นอันว่ารั้วไฟฟ้าที่เคยทำนั้นใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป
......นริศ เล่าต่อว่า กระทั้งต้นปีที่ผ่านมา ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระได้เป็นคนลงมือทำรั้วไฟฟ้าขึ้นมาเอง ผ่านโครงการลดภัยอันตรายจากช้าง ทำให้ชาวบ้านเบาใจลง แต่ในความเป็นจริง ภารกิจตรงนี้ยังไม่เสร็จ เลยทำให้เกิดกระบวนการดึงเอาชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมกับการมีอยู่ของรั้วไฟฟ้านี้“การมีส่วนร่วมตรงนี้ คือการชักชวนชาวบ้านให้ออกมาทำความ ‘รู้จัก’ รั้วไฟฟ้า” 
รู้จัก ในที่นี้ นริศ บอกว่า คือการรู้จักการใช้งานและการดูแลรักษา

“คือรั้วไฟฟ้านี้ไม่ได้สร้างเสร็จแล้วเสร็จเลย มันต้องมีการดูแล บำรุงรักษา อย่างเช่น จะให้มีอะไรมาพาดอยู่บนรั้วไม่ได้ เพราะกระแสไฟฟ้ามันจะไม่ไหลไปตามรั้วต่อ หรืออย่างมีกิ่งไม้มาพาด กระแสไฟฟ้าก็ไหลไปตามกิ่งไม้ไปแทน ทำให้รั้วไฟฟ้าใช้ไม่ได้ผล”

ที่นริศเล่า เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการทำความรู้จักและดูแล อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องทำมาคู่กัน คือการซ่อมแซมรั้วที่เกิดจากการที่ช้างป่าพังเพื่อพยายามออกไปข้างนอกป่า ระหว่างเส้นทางรั้วไฟฟ้า ระยะทาง 17 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในการฝังเสาแต่ละต้น บางต้นมีฐานปูนปักไว้อย่างเรียบร้อย แต่เสาของรั้วไฟฟ้าบางต้นมีฐานที่ก่อขึ้นใหม่อย่างหยาบๆ เอาหินเอาดินมาผสมทำฐานใหม่ เพราะถูกช้างป่าทำลาย
......นริศชี้แจงว่า จากที่เห็นก็สามารถบอกได้ชัดแล้วว่า รั้วไฟฟ้าไม่ใช่ทางออกของปัญหาที่จบภายในทีเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของชาวบ้านในการร่วมกันสอดส่องดูแล จะอาศัยเพียงแต่กำลังของเจ้าหน้าที่รับเพียงอย่างเดียวอาจไม่ทันการเพราะทางเจ้าหน้าที่ก็มีภารกิจอื่นเช่นเดียวกัน และนี่ก็คืองานหนึ่งของมูลนิธิสืบนาคะเสถียรที่จะต้องเข้ามาทำขบวนการ ตอนนี้งานดูแลบำรุงรักษารั้วไฟฟ้าทำไปแล้ว 4 ครั้ง เริ่มมาตั้งแต่ช่วงเดือนที่แล้ว

“ตอนแรก เราตั้งใจว่าจะเข้ามาร่วมกิจกรรมกันเดือนละครั้ง แต่ชาวบ้านเองต่างก็ภาระหน้าที่ในการทำมาหากินเช่นกัน แต่ผลคือบางทีอาจไม่ทันการ รั้วไฟฟ้าอาจถูกทำลายไปจนเละเสียก่อน งานตรงนี้คงต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์”

.......ในการพูดคุยระหว่างเจ้าหน้าที่สืบนาคะเสถียร กับชาวบ้าน พวกเขาคุยกันว่า วันต่อไปจะมาทำงานร่วมกันอย่างนี้เมื่อไหร่อีก ชาวบ้านร่วมออกแรก มูลนิธิฯ ร่วมช่วยสนับสนุนอุปกรณ์ และลงมือทำด้วยกัน แต่ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด กิจกรรมครั้งก่อนหน้านี้ ชาวบ้านร่วมกันถางหญ้าบริเวณรอบรั้วออกไปจนหมด เบื้องต้นคิดว่าคงใช้เวลาอีกสักระยะกว่าจะมีต้นใหม่งอกขึ้นมา แต่ที่ไหนฝนที่เทลงมานำเอาความเขียวชอุ่มกลับมาก่อนวันอันสมควร ทำงานต้องมาลงถือถางกันใหม่อีกรอบ




“งานนี้ คงแล้วแต่สถานการณ์” นริศชี้แจงกับชาวบ้าน ความเห็นจากคนฟังบอกว่า อาจต้องมีชุดเฝ้าระวัง ออกไปลาดตระเวนดู พลัดเวรกันไป หรือหางบมาจ้างเป็นงานดูแล ยังไม่มีข้อสรุปอย่างชัดเจนว่าอนาคตจะดำเนินแนวทางอย่างไร แต่ประเด็นหนึ่งที่ตกลงร่วมกัน คือ การร่วมมือกันดูแล ป้องปรามให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เพราะไม่ว่าจะคนหรือช้าง ต่างก็ต้องการความเป็นอยู่ที่ดีเช่นเดียวกันและอาจจะอยู่ร่วมกันได้ หากเราเปลี่ยนความชังเป็นความเข้าใจ


ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก...มูลนิธิสืบนาคะเสถียร



" แล้วคนในชุมชนของคุณละค่ะ....มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านใดบ้าง "

"ร่วมแสดงความคิดเห็นได้นะค่่......ขอบพระคุณค่ะ"

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

การบริหารการมีส่วนร่วม


การบริหารแบบมีส่วนร่วม
วิวัฒนาการแนวคิดของการบริหาร อาจจะกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นตลอดมาในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เมื่อมีการปกครอง มีการผลิต และการใช้แรงงาน ยิ่งมนุษย์ต้องการเพิ่มผลผลิตทางธุรกิจโดยใช้เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้นเท่าใด แนวคิดทางการบริหารหรือการจัดการยิ่งสลับซับซ้อน ลุ่มลึก ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น การบริหารในปัจจุบัน หรือจะเรียกว่าการบริหารสมัยใหม่ จึงได้นำแนวคิดเชิงมนุษย์สัมพันธ์ด้วยการบริหารและตัดสินใจ โดยยึดหลักด้านจิตใจของการทำงาน เพื่อที่จะได้ทั้งมือ หัวใจ และความคิด โดยการให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการบริหาร
การเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการบริหาร จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้สึกเกี่ยวข้องผูกพันกับงานหรือองค์การ ความรู้สึกเกี่ยวข้องผูกพันนี้หากได้มีการตัดสินใจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดร่วมกันแล้ว จะเป็นผลให้เกิดข้อผูกมัด หรือสิ่งที่ตกลงใจร่วมกัน ด้วยเหตุนี้การบริหารโดยการมีส่วนร่วมจึงมีลักษณะ ดังนี้
1. เป็นกระบวนการของการให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจ
2. เป็นการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของบุคคล
3. ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาของการบริหาร
4. การบริหารโดยการมีส่วนร่วมตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดของการแบ่งอำนาจหน้าที่ที่ผู้บริหารมีให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา
5. ต้องการให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงในกระบวนการตัดสินใจที่สำคัญขององค์กร มิใช่เพียงแต่ห่วงใยหรือสัมผัสปัญหาเท่านั้น
ความจำเป็นในการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารแบบมีส่วนร่วมมีความจำเป็นต่อการบริหารงานในปัจจุบันเพราะ
1. จะเกิดความเป็นประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งนี้ ความมีประสิทธิผลเกี่ยวข้องกับความเหมาะสมและความสำเร็จของเป้าหมาย ส่วนความมีประสิทธิภาพเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายของความสำเร็จตามเป้าหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่า ประสิทธิภาพ คือ อัตราส่วนระหว่างผลผลิตและปัจจัยการผลิต
การบริหารแบบมีส่วนร่วมช่วยให้ผู้บริหารและหน่วยงานมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เชิงความคาดหวังว่า
1) เพิ่มคุณภาพของการตัดสินใจทางการบริหารให้ดีขึ้น
2) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลูกจ้างให้ดีขึ้น
3) เพิ่มขวัญและความพอใจในงานของลูกจ้างให้ดีขึ้น
4) ช่วยให้องค์กรตอบสนองต่อความต้องการของสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น
2. ทำให้พฤติกรรมของบุคคลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร กล่าวคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร โดยการปฏิบัติงานและขวัญของแต่ละบุคคล เพราะบุคคลและความคาดหวังขององค์กรมีความขัดแย้ง สร้างความคับข้องใจและเป็นผลเสียแก่ทุกฝ่าย แต่การบริหารโดยการมีส่วนร่วมสามารถคลี่คลายข้อขัดแย้งดังกล่าวได้ เพราะการที่ให้โอกาสแก่บุคคลในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจขององค์กรพวกเขา สามารถควบคุมการทำงานของพวกเขาเองในการใช้ความสามารถและสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นได้
1 “ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการกับพนักงาน” การแรงงานสัมพันธ์พื้นฐาน กองแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
3. ช่วยสร้างแรงจูงใจ การบริหารแบบมีส่วนร่วมสนองความต้องการทางจิตใจตามทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ (Needs Hierachy Theory) และทฤษฎีการจูงใจของเฮอร์ซเบอร์ก (Motivation Hygiene Theory) เพราะการตอบสนองโดยวิธีการต่าง ๆ นั้น ยังขาดการตอบสนอง “การมีส่วนร่วม” ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจ ที่แท้จริงไป
ดังนั้น โอกาสการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เป็นการตอบสนองความต้องการ ความสมหวัง ความเชื่อถือตนเอง อันเป็นความต้องการสูงสุดของมนุษย์ได้
ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
1. การมีส่วนร่วมทำให้เกิดความคิดได้มากกว่า เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกได้ระดมความคิดและอภิปรายร่วมกัน ดังนั้น การที่จะได้ความคิดดี ๆ ในการปฏิบัติงานจึงมีความเป็นไปได้มากกว่าการคิดเพียงคนเดียว
2. การมีส่วนร่วมในการบริหารมีผลในเชิงจิตวิทยา คือ ทำให้การต่อต้านลดน้อยลง ในขณะเดียวกันก็จะเกิดการยอมรับมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นวิธีที่ผู้บริหารสามารถใช้ทดสอบดูว่าสิ่งที่ตนเองรู้ตรงกับสิ่งที่ผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชารู้หรือไม่
3. เปิดโอกาสให้มีสื่อสารแบบเปิด สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน ตลอดจนการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
4. ผู้ร่วมงานจะมีโอกาสได้ใช้ความสามารถและทักษะในการทำงานร่วมกัน เกิดความมีน้ำใจ (Team spirit) และความจงรักภักดีต่อองค์กร (Loyalty) มากขึ้น
5. การมีส่วนร่วมจะทำให้ผลการปฏิบัติงานดีขึ้น การตัดสินใจมีคุณภาพมากขึ้น ส่งเสริมให้การปรับปรุงงานมีความเป็นไปได้สูงขึ้น ตลอดจนผู้ร่วมงานมึความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากขึ้นด้วย






วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วม


แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม

             ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมมี 5 ทฤษฎี ซึ่ง อคิน รพีพัฒน์ (อ้างถึงใน ยุพาพร รูปงาม, 2545, หน้า 7-9) ได้สรุปไว้ดังนี้

1. ทฤษฎีการเกลี้ยกล่อมมวลชน (Mass Persuation)

             Maslow (อ้างถึงใน อคิน รพีพัฒน์, 2527, หน้า 7-8) กล่าวว่า การเกลี้ยกล่อม หมายถึง การใช้คำพูดหรือการเขียน เพื่อมุ่งให้เกิดความเชื่อถือและการกระทำ ซึ่งการ เกลี้ยกล่อมมีประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการปฏิบัติงานและถ้าจะให้ เกิดผลดีผู้เกลี้ยกล่อมจะต้องมีศิลปะในการสร้างความสนใจในเรื่องที่จะเกลี้ยกล่อม
             โดยเฉพาะในเรื่อง ความต้องการของคนตามหลักทฤษฎีของ Maslow ที่เรียกว่าสำดับขั้น ความต้องการ (hierarchy of needs) คือ ความต้องการของคนจะเป็นไปตามสำดับจาก น้อยไปมาก มีทั้งหมด 5 ระดับ ดังนี้
             1.1 ความต้องการทางด้านสรีระวิทยา (physiological needs) เป็นความต้องการ ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ (survival needร) ได้แก่ ความต้องการทางต้านอาหาร ยา เครื่องน่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และความต้องการทางเพศ
             1.2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต (safety and security needs) ได้แก่ ความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างมีความปลอดภัยจากการถูกทำร้ายร่างกาย หรือถูก ขโมยทรัพย์สิน หรือความมั่นคงในการทำงานและการมีชีวิตอยู่อย่างมั่นคงในสังคม
             1.3 ความต้องการทางด้านสังคม (social needs) ไต้แก่ ความต้องการความรัก ความต้องการที่จะให้สังคมยอมรับว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
             1.4 ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง (self-esteem needs) ไต้แก่ ความภาคภูมิใจ ความต้องการดีเด่นในเรื่องหนึ่งที่จะให้ไต้รับการยกย่องจากบุคคลอื่น ความต้องการ ต้านนี้เป็นความต้องการระดับสูงที่เกึ่ยวกับความมั่นใจในตัวเองในเรื่องความเความสามารถ และความสำคัญของบุคคล
             1.5 ความต้องการความสำเร็จแห่งตน (self-actualization needs) เป็นความ ต้องการในระบบสูงสุด ที่อยากจะให้เกิดความสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่างตามความนึกคิด ของตนเองเพื่อจะพัฒนาตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ความต้องการนี้จึงเป็นความต้องการ พิเศษของบุคคลที่จะพยายามผลักดันชีวิตของตนเองให้เป็นแนวทางที่ดีที่สุด

2. ทฤษฎีการระดมสร้างขวัญของคนในชาติ (National Morale)

             คนเรามีความต้องการทางกายและใจถ้าคนมีขวัญดีพอ ผลของการทำงานจะสูง ตามไปด้วย แด่ถ้าขวัญไม่ดีผลงานก็ตํ่าไปต้วย ทั้งนี้เนื่องจากว่าขวัญเป็นสถานการณ์ทาง จิตใจที่แสดงออกในรูปพฤติกรรมด่าง ๆ นั่นเอง การจะสร้างขวัญให้ดีต้องพยายามสร้าง ทัศนคติที่ดีด่อผู้ร,วมงาน เช่น การไม่เอารัดเอาเปรืยบ การให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงาน การเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น เป็นต้น และเมื่อใดก็ตามถ้าคนทำงานมีขวัญดีจะ เกิดสำนึกในความรับผิดชอบ อันจะเกิดผลดีแก่หน่วยงานทั้งในส่วนที่เป็นขวัญส่วนบุคคล และขวัญของกลุ่ม ดังนั้น จะเป็นไปได้ว่าขวัญของคนเราโดยเฉพาะคนมีขวัญที่ดีย่อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ได้เช่นกัน (ยุพาพร รูปงาม, 2545, หน้า 8)

3. ทฤษฎีสร้างความรู้สึกชาตินิยม (Nationalism)

             ปัจจัยประการหนึ่งที่นำสู่การมีส่วนร่วมคือ การสร้างความรู้สึกชาตินิยมให้ เกิดขึ้น หมายถึง ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเองที่จะอุทิศหรือ เน้นค่านิยมเรื่องผลประโยชน์ ส่วนรวมของชาติ มีความพอใจในชาติของตัวเอง พอใจเกียรติภูมิ จงรักภักดี ผูกพันต่อ ท้องถิ่น (ยุพาพร รูปงาม, 2545, หน้า 8)

4. ทฤษฎีการสร้างผู้นำ (Leadership)

             การสร้างผู้นำจะช่วยจูงใจให้ประชาชนทำงานควยความเต็มใจเพื่อบรรลุ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ร่วมกัน ทั้งนี้เพราะผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญของการร่วมกลุ่มคน จูงใจไปยังเป้าประสงค์โดยทั่วไปแล้วผู้นำอาจจะมีทั้งผู้นำที่ดีเรียกวำ ผู้นำปฎิฐาน (positive leader) ผู้นำพลวัต คือ เคลื่อนไหวทำงานอยู่เสมอ (dynamic leader) และผู้นำไม่มีกิจ ไม่มีผลงานสร้างสรรค์  ที่เรียกว่า ผู้นำนิเสธ (negative leader) ผลของการให้ทฤษฎีการสร้างผู้นำ จึงทำให้เกิดการระดมความร่วมมือปฏิบัติงานอย่างมีขวัญกำลังใจ งานมีคุณภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และร่วมรับผิดชอบ ตังนั้น การสร้างผู้นำที่ดี ยอมจะนำไปสู่ การมีส่วนร่วมใน กิจกรรมต่าง ๆ ดวยดีนั่นเอง (ยุพาพร รูปงาม, 2545, หน้า 8)
5. ทฤษฎีการใช้วิธีและระบบทางการบริหาร (Administration and Method)

             การใช้ระบบบริหารในการระดมความร่วมมือเป็นวิธีหนึ่งที่ง่ายเพราะใช้กฎหมาย ระเบียบ แบบแผน เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ แต่อย่างใดก็ตามผลของ ความร่วมมือยังไม่มีระบบใดดีที่ชุดในเรื่องการใช้บริหาร เพราะธรรมชาติของคน ถ้าทำงานตามความสมัครใจอยางตั้งใจไม่มีใครบังคับก็จะทำงานด้วยความรัก แต่ถ้าไม่ ควบคุมเลยก็ไม่เป็นไปตามนโยบายและความจำเป็นของรัฐ เพราะการใช้ระบบบริหาร เป็นการให้ปฏิบัติตามนโยบายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเพิ่มความคาดหวังผลประโยชน์ (ยุพาพร รูปงาม, 2545, หน้า 8-9) 

บรรณานุกรม

ยุพาพร รูปงาม. (2545). การรส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฏิรูป ระบบราชการ. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อคิน รพีพัฒน์. (2527). การมีสํวนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคม และวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.




"แล้วท่านผู้อ่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วม

อย่างไรกันบ้างค่ะ.....ร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยนะค่ะ"

ขอบพระคุณค่ะ